สรุปเนื้อหา หน่วยที่ 1 ระบบทางเทคโนโลยี

ระบบคืออะไร

สิ่งต่างๆที่มีส่วนประกอบตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปรวมเข้าด้วยกัน และทํางานสัมพันธ์กันเพื่อให้สามารถทํางานได้ตามหน้าที่(funtion)ที่กําหนด

ระบบทางเทคโนโลยี

“ระบบทางเทคโนโลยี” ซึ่งหมายถึงกลุ่มของส่วนต่างๆตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและทํางานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยในการทํางานของระบบ ทางเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ(process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการทํางานได้ตามวัตถุประสงค์ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพแสดงการทํางานของระบบทางเทคโนโลยี

ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน

เทคโนโลยีบางอย่างอาจประกอบไปด้วยระบบย่อยหลายระบบ (subsystems) ทํางานสัมพันธ์กันอยู่ หากระบบย่อยใด ทํางานผิดพลาดจะส่งผลต่อการทํางานของเทคโนโลยีนั้นไม่สามารถทํางานได้ตามวัตถุประสงค์หรืออาจทํางานได้ไม่สมบูรณ์ซึุ่งเทคโนโลยีที่ประกอบไปด้วยระบบย่อยตั้งแต่สองระบบขึ้นไปทํางานร่วมกัน เรียกระบบนั้นว่า ระบบที่ซับซ้อน (complex system)

การทำงานผิดพลาดของระบบ

ระบบทางเทคโนโลยีทั้งที่เป็นระบบอย่างง่าย และระบบที่ซับซ้อน หากมีส่วนประกอบใดหรือระบบ ย่อยใดทํางานผิดพลาด อาจส่งผลกระทบต่อการ ทํางานของเทคโนโลยีนั้นได้ เช่น พัดลม หากปุ่มปรับระดับความแรงของพัดลมเสียหาย จะทําให้ผู้ ใช้ไม่สามารถปรับระดับความแรงของพัดลมได้ตาม ต้องการ จึงจําเป็นต้องมีการดูแลรักษาและซ่อมบํารุง (maintenance) เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ

ระบบที่ผิดพลาด และแนวทางการแก้ปัญหาความผิดพลาดของระบบ

ตัวอย่างการทํางานผิดพลาดของระบบทางเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหา เช่น อุณหภูมิของอากาศภายในห้องไม่เป็นไปตามต้องการ สามารถวิเคราะห์ระบบการทํางานเพื่อหาสาเหตุและสิ่งที่เกิดข้อผิดพลาดอันจะนําไปสู่การแก้ไขได้ถูกต้อง เมื่อพบจุดบกพร่องของระบบที่ไม่ยากหรือซับซ้อนเกินไปสามารถแก้ไขปัญหาได้เอง เช่น แผ่นกรองอากาศใน เครื่องปรับอากาศมีฝุ่นอุดตัน ทําให้เครื่องทํางานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขโดยการถอดแผ่นกรองอากาศ เพื่อล้างทําความสะอาดได ้

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

ปัจจัยที่่สงผลต่อการเปลี่ยนแปลง

มีความต้องการสิ่งของ หรือ วีธีการเพื่ออำนวนความสะดวก

เมื่อมนุษย์พบกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจําวัน

มีความต้องการสิ่งของเพื่อช่วยในการดำรงชีวิต

มีความต้องการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว เช่น การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ปัจจัยด้านต่างๆ ที่เกื้อหนุนต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ

เกิดความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ

ปัจจัยจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

เปลี่ยนวิธีการผลิต

เมื่อเกิดภัยพิบัติ

เปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์

เมื่อเกิดสงคราม

เปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน

เมื่อเกิดภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร

ปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น

เมื่อเกิดภาวะโรคระบาด